4 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น

เทคนิคการเขียน

ว่ากันด้วยเรื่องของการเขียนเรื่องราวหรือเรื่องเล่าต่างๆ นั้น สามารถเขียนได้ออกมาหลายรูปแบบและหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจนั้นก็คือ “เรื่องสั้น” นั้นเองครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “4 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น” ที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ และไม่ยากอย่างที่คิดครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องสั้น

นิยามของ เรื่องสั้น คือ บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง หมายถึงเรื่องแต่งที่มีขนาดสั้น มีจำนวนคำระหว่างหนึ่งพันถึงหนึ่งหมื่นคำ หากเกินกว่านี้อาจกลายเป็นนวนิยาย เนื่องจากเรื่องสั้นมีองค์ประกอบเหมือนกับนวนิยาย ทั้งโครงเรื่อง, ฉาก, ตัวละคร, แก่นเรื่อง ด้วยเหตุนี้ เรื่องสั้นจะถูกบังคับให้มีตัวละครจำนวนไม่มากและไม่สามารถเขียนพรรณาอย่างเยิ่นเยิ้อละเอียดละออ ส่วนเด่นสุดของเรื่องสั้นคือแก่นเรื่อง การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ส่วนองค์ประกอบอื่นเป็นส่วนรอง ตัวละครบางตัวอาจไม่ปรากฏภูมิหลังหรือไม่ปรากฏชื่อเสียด้วยซ้ำ

ปัจจุบันมีเรื่องเล่าหรือเรื่องสั้นมากมายที่มีความสนุกและน่าติดตามจนสามารถนำมาสร้างเป็นบทละครหรือภาพยนตร์สั้นได้เช่นกันครับ

องค์ประกอบของเรื่องสั้น

เรื่องสั้น มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกับนวนิยาย คือ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก อันได้แก่…

  • โครงเรื่อง (plot) คือ แนวเรื่องที่ผู้แต่งประสงค์จะให้ดำเนินไปโดยมีเหตุการณ์ต่างๆ และผูกปมเรื่องให้ซับซ้อน การผูกเรื่องหรือสร้างเรื่องราวต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินเรื่อง โดยกำหนดพฤติกรรม เหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และให้มีความเกี่ยวเนื่องกัน โครงเรื่องเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นพื้นฐานของเรื่องราวทั้งหมดครับ
  • แก่นเรื่อง คือ ใจความสำคัญที่เรื่องสั้นพยายามจะสื่อสารกับผู้อ่าน ที่เป็นสารจากผู้เขียนครับ
  • ตัวละคร คือ บุคคลหรือตัวดำเนินเรื่องที่มักจะเป็นจุดศูนย์กลางหรือผู้นำพาเรื่องราวดำเนินต่อไปครับ
  • บทสนทนา คือ เป็นข้อความหรือการพูดคุยระหว่างตัวละครที่จะดำเนินเรื่องราวต่างๆ นั้นเอง
  • ฉากและบรรยากาศ คือ สิ่งที่จะช่วยส่งเสริมเรื่องราว ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพที่ผู้เขียนต้องการให้จินตนาการถึงครับ

ซึ่งเพียงแต่องค์ ประกอบเหล่านี้ของเรื่องสั้น มีความกระชับรัดกุมกว่านวนิยาย ทั้งนี้เพราะเรื่องสั้น มีความยาวจำกัด จึงบังคับการเขียนไปในตัวว่า จะเขียนเยิ่นเย้อ บรรยายความโดย ละเอียดลออไม่ได้

4 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้นที่ดี

1. เค้าโครงเรื่อง (plot) ต้องน่าสนใจ เพราะการสร้างเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาเริ่มเรื่องและจบเรื่องราวเหล่านั้นให้ตราตรึงผู้อ่าน ซึ่ง การสร้างโครงเรื่องนี้มีหลัก 3 ประการคือ

►โครงเรื่องต้องมีความสับสนวุ่นวาย มีปัญหาต้องแก้ไข มีการผูกปมที่ซับซ้อน
►ในการดำเนินเรื่อง จะไม่ราบรื่น หากแต่ต้องมีอุปสรรคทำให้เรื่องสนุก หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้อ่านรอคอยต่อไป
►ปมนั้นค่อยๆคลี่คลาย จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง (cli-max) เป็นการจบหรือปิดเรื่อง, สร้างฉากและตัวละครที่สอดคล้องและมีสเน่ห์ ซึ่งเราสามารถสร้างตัวละครได้โดย

2.สร้างตัวละครให้สมจริง, การแสดงอุปนิสัยของตัวละครอาจบรรยายหรือเป็นบทที่ตัวละครพูดเอง
►การแสดงอุปนิสัยของตัวละครต้องเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบเรื่องและตัวละครไม่มากเกินไปจะทำให้การเล่าเรื่องให้ลงตัวยากมากๆ
►สร้างฉาก เป้นสถานที่หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบรรยากาศต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเรื่อง เลือกฉากให้เหมาะสมกับเรื่อง และดำเนินเรื่องตามบรรยากาศที่ถูกต้องและผู้เขียนต้องเขียนฉากที่ตนรู้จังดีที่สุด เพราะจะได้ภาพที่แจ่มชัด

3. บทสนทนาต้องมีมิติและไม่เวิ่นเว้อเกินไป ไม่พูดนอกเรื่อง เป็นคำพูดง่ายต่อการเข้าใจ เหมาะสมแก่ฐานะของตัวละคร รู้จักหลากคำ ไม่ใช้คำซ้ำซาก

4. การเปิดเรื่องและปิดเรื่องที่สมบรูณ์หรือมีมิติให้กล่าวถึง เป็นหัวใจของการเขียนเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านติดตามต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเปิดเรื่อง ซึ่งมีอยู่หลายวิธี คือ สร้างเหตุการณ์หรือการกระทำให้เกิดความสนใจ น่าตื่นเต้น เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนาที่มีถ้อยคำแปลกในความหมายและเนื้อเรื่อง ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากติดตามเรื่องต่อไป เปิดเรื่องโดยการพรรณนา พรรณนาฉาก หรือบรรยายฉากที่ชวนให้ผู้อ่านสนใจ ควรดำเนินเรื่องไปสู่จุดหมายโดยเร็ว สร้างปมของเรื่องควรมีความขัดแย้ง แล้วค่อยๆคลายปมทีละน้อย สมดังความปรารถนาของผู้อ่านที่รอคอย

จากนั้นปิดเรื่อง ซึ่งเป็นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้อ่านจะทราบว่าเรื่องจะจบลงอย่างไร ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง คือ จบลงโดยที่ทำให้ผู้อ่านประหลาดใจ คาดไม่ถึง จงลงด้วยความสมปรารถนา หรือสิ้นหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง จะดีมากๆ ครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “4 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น” ที่พวกเราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่ามีประโยชน์มากๆ ครับผม

Comments are closed.