หลักการเขียนเรียงความที่ทำได้ง่ายๆ

หลักการเขียนเรียงความ

สมัยเรียนนั้น…หลายๆ ท่านก็คงจะเคยได้ลองฝึกเขียนรายงานต่างๆ เพื่อที่จะส่งครูหรืออาจารย์กันใช่มั้ยหล่ะครับ วึ่งนอกจากรายงานแล้ว เราเชื่อว่าเกือบทุกๆ ท่านต้องผ่านการเขียน “เรียงความ” กันมาบ้าง แต่ก็มีหลายๆ ท่านอาจจะไม่เขียนมาเช่นกัน วันนี้เราจึงถือโอกาสพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “หลักการเขียนเรียงความที่ทำได้ง่ายๆ” ให้กับทุกๆ ท่านได้ลองไปเขียนกันดูครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

เรียงความ คืออะไร?

เรียงความ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการใช้ภาษาเรียบเรียงความคิดเป็นเรื่อง โดยแสดงความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความเข้าใจ ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย ในความหมายที่เฉพาะทางมากขึ้น เรียงความ จะหมายถึงการเขียนที่มีรูปแบบค่อนข้างตายตัว กล่าวคือประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป ซึ่งแตกต่างจากความเรียงที่มีรูปแบบในการเขียนที่กว้างกว่า ในความหมายนี้ เรียงความที่ดีจะต้องมี 3 อย่างนี้

  • เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่องเด็ดขาด
  • สัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
  • สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด

ลักษณะของเรียงความที่ดี

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น ต้องประกอบไปด้วย

  • มีจุดหมายที่แน่นอน และประมวลขอ้คิดที่สำคัญๆ เข้าสู่จุดหมายอย่างมีระเบียบ
  • มีสัดส่วนที่เหมาะสม คือ มีขอ้ความเปิดเรื่อง ปิดเรื่องและดา เนินเรื่องตามสัดส่วนที่พอเหมาะ
  • มีการจัดลำดับ เรื่องที่เหมาะสม โดยเขียนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เป็นหัวข้อสั้นๆ แล้วนำมาเรียงลำดับให้เป็นระเบียบ
  • มีการแบ่งสัดส่วนที่ดี คือ หัวเรื่อง การย่อหน้าข้อความ การเว้นวรรคตอน การใช้ครื่องหมายต่าง ๆ รวมถึงความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยของการเขียน
  • มีโครงเรื่องดีคือความยาวของเรื่องพอเหมาะกับเวลาที่ใช้ในการเขียน เหมาะกับหัวเรื่องและระดับของผู้เขียน
  • มีการใช้ถ้อยคำาภาษาที่ดี การสื่อด้วยภาษา การใช้ถ้อยคำจึงจำเป็นมากๆ ต้องใช้คำให้ถูกต้องตรงความหมายเหมาะสมกับ บุคคล และผกู ประโยคไดถูกต้อง สละสลวยกะทัดรัด และมีท่วงทำนองการเขียนดี
  • มีเนื้หาดีคือเนื้หาสอดคลอ้งกับหัวเรื่อง เนื้ความสัมพนัธ์กันและมีเนื้อหาพอที่จะทำใหผู้อ่านเกิด ความรู้ความเข้าใจตามหัวเรื่องที่กำหนดเอาไว้ครับ

ใจความสำคัญของเรียงความ คือส่วนใดกันนะ

ส่วนที่สำคัญและจำเป็นต้องมีมากที่สุดนั้นก็คือ “บทสรุป” นั้นเองครับ เพราะบางทีเนื้อหาของเรียงความนั้น จะยืดยาวและมีหลากหลายข้อมูลที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก แต่หากเราสามารถสรุปใจความสำคัญได้ดีในส่วนย่อหน้าสุดท้าย ก็จะทำให้ผู้อ่านเคลียร์และเข้าใจเนื้อมากขึ้นนั้นเองครับ

ขั้นตอนการเขียนเรียงความที่ดี

  • การเลือกเรื่อง หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเองแล้ว ควรเลือกตามความชอบ หรือความถนัดของตนเอง การค้นคว้าหาข้อมูลอาจทำได้โดยการค้นคว้าจากหนังสือ นิตยสาร วารสาร อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น
  • วางโครงเรื่อง เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้ว ต้องวางโครงเรื่อง โดยคำนึงถึงการจัดการ จัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน เช่น จัดลำดับหัวข้อตามเวลาที่เกิด, จัดลำดับหัวข้อจากหน่วยเล็กไปสู่หน่วยใหญ่, จัดลำดับตามความนิยม โครงเรื่องของงานเขียนควรจัดหมวดหมู่ของแนวคิดสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน โครงเรื่องเปรียบเสมือนแปลนบ้าน ผู้สร้างบ้านจะต้องใช้แปลนบ้านเป็นแนวทางในการสร้างบ้าน การเขียนโครงเรื่องจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เขียนเรียงความเขียนได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าไม่เขียนโครงเรื่องหรือไม่วางโครงเรื่อง เรียงความอาจจะออกมาไม่ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ
  • การเรียบเรียงและสรุปเนื้อหาอย่างครบถ้วน ตามรูปแบบของเรียงความ ตามองค์ประกอบ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป (บางคนอาจเขียนคำนำหลังสุดก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน) และต้องปิดเรียงความด้วยบทสรุปที่เข้าใจทั้งหมด

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “หลักการเขียนเรียงความที่ทำได้ง่ายๆ” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านที่กำลังสนใจที่จะลองเขียนเรียงความสักเรื่องหนึ่ง จะส่งครูอาจารย์ก็ดีหรือจะฝึกเป็นงานอดิเรกก็น่าสนใจ หวังว่าจะได้ประโยชน์กันสักเล็กน้อยนะครับ

Comments are closed.