พื้นฐานการจับคู่สีทำอย่างไรได้บ้าง?

หลักการเลือกใช้สี

เรื่องสีๆ เป็นอะไรที่เราจะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมากเลยหล่ะ ซึ่งบทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “พื้นฐานการจับคู่สีทำอย่างไรได้บ้าง?” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรและต้องดูสิ่งใดบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

การจับคู่สีคืออะไร?

การจับคู่สี คือ การทำการเลือกสีที่ใช้ในการทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำพรีเซนหรือการออกแบบต่างๆ นาๆ นั้นเองครับ

สีคู่ตรงข้าม คือ สีที่ตัดกัน โดยมักจะเป็นสองสีที่อยู่ตรงข้ามบนกันวงจรสี (วงล้อสี) เมื่อจับมาคู่กันแล้วจะให้ความรู้สึกขัดแย้ง ทว่าเกิดความโดดเด่นและสดใสสะดุดตา เช่น สีแดง-สีเขียว โดยสีคู่ตรงข้ามจะเป็นสีที่เลือกจากสี “วรรณะร้อน” และ “วรรณะเย็น” บนวงจนสี ดังนี้

-สีวรรณะร้อน (Warm Tone) : สีที่ให้ความรู้สึกร้อน เช่น สีแดง สีส้ม สีเหลือง ฯลฯ
– สีวรรณะเย็น (Cool Tone) : สีที่ให้ความรู้สึกเย็น เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีเทา ฯลฯ

ทั้งนี้ การนำสีคู่ตรงข้ามมาใช้ในการออกแบบก็จะมีการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ที่ลงสี เพื่อให้เหมาะสมและดูสบายตามากที่สุด อาจจะเป็นการแบ่งสัดส่วนสีหนึ่งราว 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ส่วนอีกสีหนึ่งก็เป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น บ้างก็แต่งแต้มสีขาวหรือสีดำเพิ่มเข้าไป เพื่อสร้างความสวยงามให้กับภาพ ลดความรู้สึกตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างรุนแรงของสองสีนั้น

หลักการเลือกใช้สี

การใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดู เพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้มีดังนี้

●การใช้สีวรรณะเดียว

ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ

– วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
– วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ)

การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก

●การใช้สีต่างวรรณะ

หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณะร้อน 80% สีวรรณะเย็น 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ

●การใช้สีตรงกันข้าม

สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรู้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป

2 สีทาห้องกับหลักที่น่าสนใจ

●ห้องทำงานไม่ควรทาสีขาว

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ห้องสีขาวที่มีแสงสว่างจ้า สามารถกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจและทำให้ดวงตาล้าได้ หากต้องการการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องหลีกเลี่ยงการทาห้องทำงานเป็นสีขาว อย่างไรก็ดี บางคนคิดว่าสีขาวเหมาะกับห้องน้ำ แต่คนที่คิดจะซื้อบ้านทุกวันนี้ไม่เห็นแบบนั้น จากการวิจัยของ Zillow ที่เลือกสีทั่วไปสำหรับห้องน้ำ จะลดมูลค่าบ้านลงมาได้ อย่างผนังสีขาวนั้นมันดูน่าเบื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าห้องน้ำบ้านเราไม่ได้รับแสงจากธรรมชาติอย่างเหมาะสม

●ไม่ควรใช้สีเหลืองในห้องครัว

ในวงการอสังหาริมทรัพย์ การใช้สีเหลืองกับห้องครัวทำให้มูลค่าบ้านถูกลง เนื่องจากสีเหลืองมีผลทางจิตวิทยาแบบเดียวกันกับสีส้ม ช่วยเพิ่มความมีชีวิตชีวาหรือความสนุกสนาน อย่างไรก็ดี มันก็ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่กลมกลืนกับสีอื่น ๆ ในห้องครัว อีกทั้งยังมีอิทธิพลทางอารมณ์ต่อเจ้าของบ้านมากเกินไป ถ้าอยากใช้สีเหลืองในบ้าน ให้เลือกใช้กับห้องเด็ก กระตุ้นให้เกิดบรรยากาศที่สดใสและมีชีวิตชีวา

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “พื้นฐานการจับคู่สีทำอย่างไรได้บ้าง?” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าจะเป็ฯความรู้พื้นฐานที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยหล่ะครับ

Comments are closed.